“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” คาดการณ์การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ 29 พ.ย. 66 กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงอย่างมาก และเศรษฐกิจไทยยังทยอยฟื้นตัวแม้เป็นไปในลักษณะเปราะบาง สะท้อนผ่านตัวเลขเศรษฐกิจ หรือจีดีพีในไตรมาส 3 ปี 66 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด
ขณะที่ เมื่อมองไปข้างหน้า กนง. มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปี 67 หากเศรษฐกิจไทยในปีหน้าฟื้นตัวต่อเนื่องและขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปี 66 โดยทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 67 มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสนับสนุนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ ภาคการส่งออกของไทยในปีหน้า ก็คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ในแดนบวก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐาน อีกทั้ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 67 ก็คงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนการบริโภคภายในประเทศให้ยังขยายตัวได้
ส่วนเงินเฟ้อไทยเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะยังทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง. ที่ 1-3% ต่อไปในปี 67 โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยในปัจจุบันได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก
แต่ในระยะข้างหน้ายังคงมีความเสี่ยงที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกอาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคงจะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการดำเนินมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าพลังงานในระยะข้างหน้า รวมถึงคงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทย มีโอกาสที่อาจปรับเพิ่มสูงขึ้นได้
ทั้งนี้ จากการส่งสัญญาณของ กนง. ในช่วงก่อนหน้านี้ คาดว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงต่อเนื่อง เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มจะคงดอกเบี้ยสูงยาวนานขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ยังแข็งแกร่งกว่าคาด
“สำนักวิจัยเศรษฐกิจเคเคพี กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร” คาด กนงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. จะคงดอกเบี้ยที่ 2.5% ไปตลอดทั้งปี 67 ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยงที่นโยบายการเงินไทยจะอยู่ในภาวะที่เริ่มตึงตัวมากเกินไป ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยสูงขึ้นที่ 2.5% ซึ่งมากกว่าสหรัฐ ที่ 2% ในกรณีที่นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ไม่เกิดขึ้นได้จริง โอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบายจะมีสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากทิศทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอจะทำให้เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำที่ 1.7% โดยในช่วงที่ผ่านมา เงินเฟ้อไทยลดลงอย่างรวดเร็วและเริ่มเติบโตติดลบในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มคงที่ ซึ่งเงินเฟ้อในไทยถือว่าปรับตัวลดลงเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ต่างจากหลายประเทศที่เงินเฟ้อค้างอยู่ในระดับสูงยาวนาน ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจส่งสัญญาณทิศทางไม่ชัดเจน ทำให้การประเมินเศรษฐกิจเพื่อดำเนินนโยบายทำได้ยากขึ้น