“อาดิดาส” (adidas) ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์เครื่องแต่งกายและรองเท้ากีฬายักษ์ใหญ่ของโลกที่หลายคนชื่นชอบและนิยม การันตีด้วยฐานะเบอร์ 2 ที่เป็นรองเพียงแค่เทพีแห่งชัยชนะอย่างไนกี (Nike) เท่านั้น
แต่เบื้องหลังการถือกำเนิดของแบรนด์อาดิดาสที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้เพราะเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้ง นั่นคือเรื่องราวความบาดหมางภายในครอบครัว ที่นำไปสู่มหากาพย์ความขัดแย้ง “adidas vs Puma”
ช่างทำรองเท้าในร้านซักล้าง
ย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เด็กชาย “อดอล์ฟ ดาสเลอร์” (Adolf Dassler) เกิดเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 1900 ที่เมืองแฮร์โซเกเนาฮัค (Herzogenaurach) ในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี เมืองเล็ก ๆ ที่ ณ เวลานั้นมีประชากรเพียง 4,000 คน และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพช่างทำรองเท้า
อดอลฟ์ หรือที่เพื่อนพี่น้องมักเรียกว่า “อาดี” (Adi) เป็นบุตรคนที่ 4 ของครอบครัว ตั้งแต่เด็กมักจะช่วยแม่ที่เปิดร้านซักล้าง โดยคอยทำหน้าที่รับ-ส่งผ้าให้ลูกค้า แต่ในขณะเดียวกันพ่อของเขาก็เป็นช่างทำรองเท้าของโรงงานแห่งหนึ่ง ทำให้เขามีความสนใจในการทำรองเท้าด้วย
อดอล์ฟยังสนใจในการเล่นกีฬาหลากหลายชนิด ทั้งกรีฑา ฟุตบอล มวย ฮอกกี้น้ำแข็ง และพุ่งแหลน นั่นทำให้เขาสังเกตเห็นปัญหาอย่างหนึ่ง นั่นคือนักกีฬาประเภทต่าง ๆ มักใส่รองเท้ากีฬาแบบเดียวกัน ซึ่งไม่ได้เหมาะกับการเล่นกีฬาทุกชนิด
เขาจึงเกิดไอเดียว่า โลกกีฬาต้องการรองเท้ามืออาชีพที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละชนิดกีฬา และเขาเชื่อมั่นว่า ความสำเร็จด้านกีฬาจะดีขึ้นได้ด้วยรองเท้าที่ถูกต้องเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เขาจะได้ไล่ตามความฝันของตัวเองได้ อดอลฟ์กลับถูกเกณฑ์ทหารไปเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียก่อน ขณะที่อายุได้เพียง 17 ปีเท่านั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงสุดท้ายของสงครามแล้ว อดอลฟ์จึงสามารถกลับมาได้อย่างปลอดภัย และเริ่มก้าวแรกของการทำรองเท้ากีฬาเฉพาะทางทันที โดยใช้ห้องซักล้างในร้านของแม่เป็นที่ทำงาน
กระนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีจมอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ทำให้วัสดุสำหรับทำรองเท้าหายากและมีราคาสูงมาก อดอล์ฟจึงรับงานซ่อมรองเท้าให้กับชาวเมืองแฮร์โซเกเนาฮัคเพื่อหาเลี้ยงชีพ
ขณะเดียวกัน เมื่อมีเวลาว่าง เขาจะออกไปหาเศษซากยุทโธปกรณ์ของกองทัพในพื้นที่ชนบทที่เกิดสงคราม ไม่ว่าจะเป็นหมวกทหาร ถุงขนมปัง ร่มชูชีพ ฯลฯ และนำวัสดุเหล่านี้มาประดิษฐ์เป็นรองเท้า
อดอล์ฟส่งตัวอย่างรองเท้าของเขาไปยังสโมสรกีฬาในภูมิภาคเพื่อแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเขาให้ผู้เล่น ผู้จัดการ และผู้ฝึกสอนได้เห็น จนได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมาก
เขาทดลองใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น หนังฉลามและหนังจิงโจ้ เพื่อสร้างรองเท้าที่แข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา เรียกได้ว่าแทบไม่ต่างอะไรจากนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามทำการทดลองเพื่อสร้างรองเท้าที่เหมาะสมที่สุดกับนักกีฬา
ก่อตั้งโรงงานรองเท้าพี่น้องดาสเลอร์
ในปี 1923 “รูดอล์ฟ ดาสเลอร์” หรือที่คนสนิทมักเรียกว่า “รูดี” (Rudi) พี่ชายคนที่ 3 ของอดอล์ฟซึ่งอายุมากกว่า 2 ปี สำเร็จการฝึกฝนเป็นตำรวจ แต่ตัดสินใจช่วยน้องชายทำธุรกิจ จนปีต่อมา พวกเขาร่วมกันตั้งบริษัท “Gebrüder Dassler Sportschuhfabrik” (โรงงานรองเท้ากีฬาพี่น้องดาสเลอร์) ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ
สองพี่น้องแบ่งความรับผิดชอบตามความสามารถของตน อดอลฟ์เป็นผู้นำในการพัฒนาด้านเทคนิค ส่วนรูดอล์ฟเป็นหัวหน้าฝ่ายขายและการตลาด เติมเต็มซึ่งกันและกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ในช่วง 2 ปีแรกพวกเขาเผชิญความยากลำบากทางการเงินเล็กน้อย คนงานหลายสิบคนผลิตรองเท้าได้ประมาณ 50 คู่ต่อวัน กระทั่งความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 1926 ทำให้ธุรกิจของพวกเขาขยายขนาดขึ้นจนห้องซักล้างของครอบครัวรองรับต่อไปไม่ได้
อดอล์ฟและรูดอล์ฟจึงตัดสินใจซื้อที่เพื่อตั้งโรงงาน ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม และเพิ่มคนงาน เสริมกำลังการผลิตจนสามารถทำรองเท้าได้ 100 คู่ต่อวัน รวมถึงพัฒนารองเท้าสตั๊ดและรองเท้าหนามรุ่นแรก ๆ ของโลกขึ้นมา
โอลิมปิกเปลี่ยนชีวิต
ในปี 1928 การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนจัดขึ้นที่กรุงอัมสเตอร์ดัม อดอล์ฟมุ่งมั่นที่จะใช้เวทีระดับโลกนี้ในการพิสูจน์ว่า นักกีฬาที่มีรองเท้าที่เหมาะสมสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น กระโดดได้สูงขึ้น และชนะได้มากกว่า
เขามอบรองเท้าสำหรับวิ่งที่พัฒนาขึ้นให้กับนักวิ่ง 800 เมตรชาวเยอรมัน ลินา ฮาดค์ ซึ่งเธอใช้เวลาเพียง 2:16.8 นาทีเท่านั้นในการไปถึงเส้นชัย สร้างสถิติโลกและคว้าเหรียญทองไปครอง
โอลิมปิกครั้งต่อมาปี 1932 ที่ลอสแองเจลิส มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันด้วยรองเท้าดาสเลอร์มากขึ้นกว่าเดิม ในปีนี้ อดอล์ฟตัดสินใจเข้าเรียนที่โรงเรียนเทคนิครองเท้าในเมืองเพียร์มาเซนส์
เขาได้พบรักกับ คาธารีนา หรือเคธ ลูกสาวของผู้ผลิตแม่พิมพ์รองเท้าชื่อดัง และแต่งงานกันในปี 1934
กระทั่งโอลิมปิกปี 1936 ที่เบอร์ลินเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน เป็นปีที่ดาสเลอร์ประสบความสำเร็จและโด่งดังระดับพลุแตก เมื่ออดอล์ฟขอให้นักกีฬาหลายคน รวมถึง “เจสซี โอเวนส์” นักวิ่งชาวอเมริกัน ให้สวมรองเท้ากีฬาของดาสเลอร์
ผลลัพธ์ออกมาน่าทึ่งมาก เพราะโอเวนส์คว้าเหรียญทองได้ถึง 4 เหรียญ รวมแล้วในการแข่งโอลิมปิกปีนั้น นักกีฬาที่สวมรองเท้าดาสเลอร์ทำลายสถิติโลกไป 2 รายการ ทำลายสถิติโอลิมปิก 3 รายการ ได้เหรียญทองรวม 7 เหรียญ เงิน 5 เหรียญ และทองแดงอีก 5 เหรียญ
ชื่อเสียงของดาสเลอร์ขจรขจายไปทั่วโลก จนทำให้บริษัทเติบโตและสามารถขายรองเท้าได้เฉลี่ยมากถึง 200,000 คู่ต่อปี!
พี่น้องบาดหมาง ทั้งเมืองแบ่งเป็น 2 ฝ่าย
สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นขณะที่ดาสเลอร์กำลังไปได้สวย โดยทั้งอดอล์ฟและรูดอล์ฟต่างเป็นสมาชิกพรรคนาซี ซึ่งช่วงแรกพวกเขายังสามารถเดินหน้าผลิตรองเท้ากีฬาต่อไปได้ โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามคำสั่งกองทัพนาซี กระทั่งช่วงครึ่งหลังของสงคราม ทางการขอให้ดาสเลอร์หยุดผลิตรองเท้ากีฬาชั่วคราว และนำโรงงานไปให้ผลิตอาวุธต่อต้านรถถังแทน
ช่วงสงครามนี้เองที่เริ่มทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างสองพี่น้องดาสเลอร์ เมื่อรูดอล์ฟถูกเกณฑ์ทหารแต่เขาไม่ไว้ใจให้อดอล์ฟบริหารบริษัท จึงต้องการให้น้องชายส่งจดหมายแจ้งเกี่ยวกับการตัดสินใจทางธุรกิจทุกครั้ง และยังแนะนำให้ภรรยาของเขาทำหน้าที่แทน แต่อดอล์ฟปฏิเสธข้อเสนอแนะของพี่ชาย
โรงงานดาสเลอร์เกือบถูกทำลายโดยกองทหารสหรัฐฯ ในปี 1945 แต่ เคธ ภรรยาของอดอล์ฟสามารถโน้มน้าวทหารได้ว่าสิ่งเดียวที่บริษัทผลิตคือรองเท้ากีฬา
และเมื่อทหารอเมริกันพบว่านี่คือโรงงานที่ผลิตรองเท้าที่ เจสซี โอเวนส์ ใส่วิ่งจนได้เหรียญทองโอลิมปิก พวกเขาจึงเริ่มซื้อรองเท้าดาสเลอร์เป็นจำนวนมาก และได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ทหารอเมริกัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ความเป็นพี่น้องของอดอล์ฟและรูดอล์ฟมาถึงจุดสิ้นสุด มีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้สองพี่น้องทะเลาะกันชนิดไม่เผาผี
ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าภรรยาของอดอล์ฟและรูดอล์ฟทะเลาะกัน ทฤษฎีที่สองคือรูดอล์ฟสงสัยว่าน้องชายบอกข้อมูลที่อยู่ของเขาให้กับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร (รูดอล์ฟเคยหนีทัพและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรจับกุมตัวไว้ได้) และทฤษฎีที่สาม อดอล์ฟสงสัยว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นระหว่างพี่ชายกับภรรยาของเขา
ไม่ว่าเหตุผลที่แท้จริงจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครในครอบครัวของทั้งคู่ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ และยังคงเป็นปริศนาจนถึงปัจจุบัน
พี่น้องทั้งสองปิดโรงงานในปี 1948 จากนั้นอดอล์ฟก็ก่อตั้งอาดิดาส ขณะที่รูดอล์ฟก่อตั้งบริษัทรองเท้าชื่อดังอีกแห่งคือ “พูมา” (Puma)
ความบาดหมางระหว่างพี่น้องทำให้ทั้งเมืองแฮร์โซเกเนาฮัคเกิดความแตกแยก เพราะเกือบทุกครอบครัวมีคนที่ทำงานให้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง แม่น้ำออฮัค (Aurach) ซึ่งแบ่งเมืองออกเป็น 2 ส่วนไม่ได้เพียงแค่ผ่าเมืองออกในทางภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงในเชิงสังคมด้วย
โดยอาดิดาสตั้งโรงงานในพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำ ในขณะที่พูมาก่อตั้งธุรกิจทางตอนใต้ของแม่น้ำ จะเรียกว่าแบ่งเป็นเมืองแฮร์โซเกเนาฮัคเหนือและแฮร์โซเกเนาฮัคใต้ก็ไม่ผิด
ความขัดแย้งของพี่น้องยังทำให้พนักงานของทั้งสองบริษัทไม่พูดคุยกัน ร้านอาหาร ร้านตัดผม บาร์ และร้านเบเกอรี่ ก็ห้ามเข้าร้านเดียวกัน ทุกธุรกิจในเมืองต้องเลือกว่าจะจงรักภักดีต่ออาดิดาสหรือพูมา ไม่สามารถเป็นกลางหรือสนับสนุนทั้งสองฝ่ายได้
เมืองแฮร์โซเกเนาฮัคยังถูกเรียกว่า “เมืองคอหัก” เนื่องจากชาวเมืองติดนิสัยต้องมองรองเท้าของอีกฝ่ายก่อนว่าสนับสนุนหรือมาจากบริษัทคู่อริหรือไม่ ถ้าไม่ถึงจะพูดคุยด้วย
อดอล์ฟและรูดอล์ฟไม่เคยญาติดีกันอีกเลยตลอดชีวิต จนรูดอล์ฟเสียชีวิตในปี 1974 และอดอล์ฟเสียชีวิตในปี 1978 ร่างของทั้งคู่ก็ถูกฝังไว้คนละฟากของสุสาน ให้อยู่ห่างกันที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กำเนิดอาดิดาสและเอกลักษณ์แถบ 3 เส้น
ชื่ออาดิดาสนั้นมีที่มาจากชื่อของ อดอล์ฟ ดาสเลอร์ โดยนำชื่อเล่นคือ อาดี รวมกับพยางค์แรกของนามสกุล
อดอล์ฟได้พัฒนารองเท้าฟุตบอลที่มีสายรัดขนานกัน 3 เส้น ซึ่งช่วยให้รองเท้าและเท้าสอดรับกันและมั่นคงมากขึ้น กลายเป็นเอกลักษณ์ของรองเท้าอาดิดาสซึ่งถูกพัฒนาต่อจนกลายเป็นโลโก้เครื่องหมายการค้าของบริษัทในเวลาต่อมา
เมื่อแยกตัวออกมา อาดิดาสมีความก้าวหน้าอย่างมากในตลาดกรีฑา ด้วยการเปิดตัวรองเท้าฟุตบอลโลกปี 1954 ซึ่งมีน้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของรองเท้ารุ่นอื่น ๆ และมีปุ่มแหลมแบบเกลียวที่ถอดออกได้เพื่อปรับให้เข้ากับพื้นผิวและสภาพอากาศ
จากนวัตกรรมนี้ ทำให้เยอรมันตะวันตกสร้างประวัติศาสตร์ช็อกโลกด้วยการพลิกกลับมาเอาชนะฮังการีในรอบชิงชนะเลิศได้ทั้งที่ถูกนำอยู่ 0-2 ลูก การแข่งขันที่ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ทำให้อาดิดาสกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอย่างแท้จริง
หลังจากนั้นบริษัทเริ่มขยายไลน์ผลิตภัณฑ์และเปิดตัวชุดวอร์ม และหลังอดอล์ฟเสียชีวิต ลูกชายคนโตของเขา ฮอร์สต์ ดาสเลอร์ ก็มีความพยายามขยายตลาดไปยังกลุ่มสินค้ารองเท้าสนีกเกอร์ด้วย
ในช่วงปี 1980 อาดิดาสขยายฐานไปยังสหรัฐฯ และพยายามสร้างภาพลักษณ์ไม่ให้เป็นแค่รองเท้าหรือเครื่องแต่งกายนักกีฬา แต่เป็นสิ่งที่คนทั่วไป ดารา นักร้อง สามารถสวมใส่ได้เช่นกัน และประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อศิลปินป็อปและฮิปฮอปเริ่มนำสินค้าอาดิดาสไปใส่
อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นทศวรรษ 1990 เป็นช่วงที่ยากลำบากสำหรับอาดิดาส เพราะฮอร์สต์เสียชีวิตกะทันหันในปี 1987 และบริษัทเกือบล้มละลาย จนกระทั่งนักลงทุน โรเบิร์ต หลุยส์-เดรย์ฟัส เข้ามารับช่วงต่อในปี 1994
เขาตระหนักว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไม่จำเป็นต้องได้รับการคิดค้นใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการตลาดที่ดีขึ้นแทน ในปี 1995 อาดิดาสเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนและสาธารณชนภายนอกเป็นครั้งแรกและเปิดตัวเว็บไซต์ และตั้งแต่นั้นก็ยังคงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเบอร์ 2 ของแครื่องแต่งกายและรองเท้ากีฬาของโลก
ในปี 2023 ยอดขายสินค้าอาดิดาสอยู่ที่ 2.14 หมื่นล้านยูโร หรือ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8.5 แสนล้านบาท) คิดเป็นกำไรขั้นต้น 1.01 หมื่นล้านยูโร (4 แสนล้านบาท)
โดยยอดขายในลาตินอเมริกาเติบโตมากที่สุด ถึง 22% ตลาดจีนโต 8% และเอเชียแปซืฟิกโต 7% ส่วนตลาดยุโรปทรงตัว แต่ตลาดอเมริกาเหนือหดตัว 16%
ปี 2023 ยอดขายของบริษัทในอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายกีฬา เครื่องประดับ และรองเท้าอันดับ 1 คือไนกี 5.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.9 ล้านล้านบาท) ส่วนอันดับ 3 เป็นของพูมาที่ยอดขายไม่ได้น้อยหน้า อยู่ที่ 9.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.45 แสนล้านบาท)
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะอาดิดาสหรือพูมา ทุกวันนี้ไม่มีบริษัทใดถูกควบคุมหรือบริหารโดยทายาทของตระกูลดาสเลอร์เลย นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะถ้าอดอล์ฟและรูดอล์ฟยังอยู่ด้วยกัน อาดิดาสและพูมาที่เป็นหนึ่งเดียวกันจะพาพวกเขาไปได้ไกลขนาดไหน
น่าเสียดายที่คำว่า “ถ้า” มักใช้กับสิ่งที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริง…
เรียบเรียงจาก (1) (2) (3) (4) (5) (6)คำพูดจาก เกมสล็อตทดลองเล่น
กฟภ.กาง 6 กฎเหล็ก! เปิดแอร์อย่างไรให้ประหยัดค่าไฟช่วงอากาศร้อนจัด
"ปรากฏการณ์เอนโซ" เมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเปลี่ยน ผลพวงจาก เอลนีโญ-ลานีญา
"เสรีพิศุทธ์" เชื่อ "บิ๊กโจ๊ก" ยังมีโอกาสกลับมาผงาดได้อีก